การศึกษาไทย คือระบบการเรียนรู้ที่มีความทุกข์ (จริงหรือ?) | บทความ

บทความ


การศึกษาไทย คือระบบการเรียนรู้ที่มีความทุกข์ (จริงหรือ?)

Blog Single

การศึกษาไทย คือระบบการเรียนรู้ที่มีความทุกข์
คือเมื่อวิชาไหนไม่ชอบ ไม่ถนัด ก็ต้องพยายามบากบั่นเพื่อให้ผ่านพ้นและทำให้ได้ ก่อเกิดกลไกการเอาตัวรอดต่างๆ ลอกกัน ดุด่าว่า ลอกการบ้าน ลอกข้อสอบ ครั้นทำมั่วหรือส่งกระดาษทดเปล่าๆเพราะไม่รู้และคิดไม่ออก ก็ตัดสินว่าเด็กไม่ตั้งใจเรียน

เราใส่ใจวิชาที่เด็กๆชอบ น้อยไป
วิชาไหนที่เขาชอบ ควรจะมีเพิ่มเติมให้ลง หรือให้เขาคลุกอยู่กับสิ่งนั้นมากขึ้น เพราะพลเมืองที่ดี และคนเชี่ยวชาญ

มันมากจากการโฟกัสวิชาที่ชอบ มากกว่าพยายามฝืนเรียนสิ่งที่ไม่ชัดแล้วโดนตราหน้าว่า “เด็กโง่”

เด็กจึงออกนอกระบบกันมาก เพราะไม่มีอะไรที่เหมาะกับเขาเท่าที่ควร โดยเฉพาะ เรียนเพื่อสอบ สอบแล้วลืม ลืมแล้วท่องจำเรียนใหม่ วนไปดั่งวัฏสงสารการเรียนการสอน

แผนการสอน มันถูกสร้างแบบที่ไม่สอดคล้องกับบุคลิกภาพที่แตกต่างของเด็ก หรือมีทางเลือกที่ไม่มากพอสำหรับความฝันที่หลากหลายของเด็ก

การช่วยให้เขาค้นพบตนเองตั้งแต่ ม.ต้น เป็นผลดี
แต่ค้นพบแล้ว ม.ปลายได้โฟกัสกลุ่มเรียนที่จะพาสานฝันสู่อาชีพที่มีเพื่อนๆที่สนใจแบบเดียวกันมาเรียนร่วมกัน ก็น่าจะช่วยให้การแนะแนวอาชีพง่ายขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อเด็ก

ยกเลิกระบบเกรดเฉลี่ย กับ O-Net ด้วย
เด็กจะได้เกรดวิชาไหนเท่าไหร่ มันมีไว้บอกว่าเขาชอบและไม่ชอบอะไร ถ้าไม่ถนัดก็ไม่ต้องไปลงเรียนอีก เราหาเพื่อนเก่งๆวิชานั้นๆมาร่วมทีมทำงานได้

ดีกว่าสะอีก สอนให้รู้คุณค่าของมนุษย์ ไม่สร้างค่านิยมคนเก่งต้องเก่งแบบเป็ด รอบด้าน ไม่เห็นคุณค่าคนอื่นที่เก่งเฉพาะด้าน

เริ่มต้นจากให้เด็กๆรับผิดชอบลงตารางเรียนเอง เลือกวิชาเอง เขาจะได้รับผิดชอบอนาคตของตัวเอง

การศึกษาที่ออกแบบเพื่อเด็ก มันจะลำบากครูแน่นอนครับ
แต่มีประโยชน์แน่นอน ดีกว่าสบายครูแต่ลำบากเด็กในวันข้างหน้านะครับ เพราะเขาไม่ได้ถูกฝึกให้คิดหรือถามตัวเองเลยว่า “ฉันชอบไม่ชอบอะไร และจะได้ดีในวิชาประมาณไหน”

ขยายความ สบายครูแต่ลำบากเด็กในวันหน้ายังไง
ดูข้อสอบสิ ปรนัย ตรวจง่าย สบายครู แต่คำตอบที่ถูกมันมีข้อเดียว ปลูกฝังเด็กตั้งแต่ประถม ถึงมัธยมไง ว่าถ้าฉันถูก เพื่อนที่คิดต่างจากฉันต้องผิด หรือเฉลยของครูต้องถูกเสมอ >>> สังคมไทยเราจึงขัดแย้ง ไม่มีมุมมองเคารพผู้ที่คิดต่าง มองต่าง ตัดสินจากเฉลยที่มี 
แต่ก็เข้าใจ ครูมีภาระเยอะ สอนเด็กเยอะเกิน เงินเดือนก็น้อย ปรับอะไรไปก็โดนบ่นด่าจากครู เพราะคำสั่งนโยบายชอบคิดแทนมากกว่าให้ครูกับบริบทโรงเรียนเลือกสรรว่าอยากจะเป็น เห็นด้วยกับโค้ดดิ้ง ส่งเสริมอังกฤษ อิลิทสคูล แต่ต้องปรับพื้นฐานความเป็นอยู่ก่อน คือ บริบทโรงเรียนกับความพร้อมด้านศักยภาพครู เวลาสอนกับหลักสูตรภาคบังคับ และนักเรียนที่เรียนรู้ช้า แตกต่างกัน แล้วต้องเรียนครอบจักรวาล

การศึกษาที่ดี ต้อง Micro ให้เล็กที่สุดเหมาะกับเด็กได้
Education ต้องเป็น Tranformation ไม่ใช่ Information
เพราะอินเตอร์เน็ตมีให้อ่านเองเยอะมากแล้ว ควรเปิดพื้นที่ให้แต่ละโรงเรียนในแต่ละภาคเลือกความโดดเด่นเฉพาะทางได้ วัดผลแตกต่างกันได้ ได้ดีในแบบที่เขาเป็นได้ ไม่ต้องวัดผลแบบเดียวทั้งชาติ มันวัดกันไม่ได้จริงๆ

ขนาดจุดเด่นโรงแรมบนเขา กับชายทะเลยังมีจุดขายที่ต่างกัน โรงเรียนบนดอยกับโรงเรียนในเมืองก็ต้องต่างกันได้ ให้ใช้หลัก Area Based สถานศึกษาเป็นฐาน ให้ ผ.อ.กับครูเขาร่วมกันคิดและทำ ส่วนเขตพื้นที่ ศึกษานิเทศก์ก็ไปสังเกตการณ์พอแล้ว แค่ดูอยู่ห่างๆ ให้คนในโรงเรียนเป็นผู้นำ แล้วให้ผู้นำหรือตัวแทนนักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นด้วย ผมเชื่อว่าการหารือร่วมกันที่ข้อมูลมาจากนักเรียนเป็นผลดี

ในภาพอาจจะมี Mentor Jakkrit, กำลังยิ้ม, กำลังยืน, ต้นไม้ และสถานที่กลางแจ้ง

มุมมองการศึกษา 
จักรกฤษณ์ ศักดิ์สุวรรณ
ภาคีนวัตกรรมการสอนโรงเรียนแห่งอนาคต GetupSchool



แชร์บทความนี้
เขียนโดย วัลลภ ชูชาติ
ทุกคนสามารถทำได้ทุกอย่างบนโลก ถ้าเอาจริง

บทความล่าสุดในหมวดหมู่เดียวกัน

ความคิดเห็น